จากปลาร้า...ถึง...ปลาทะเล   


25 ธันวาคม 61 20:13:40

คอลัมน์  “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน  เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว…………. พบเรื่องใหม่ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี

^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

อ่านชื่อเรื่องแล้ว อมยิ้มขำๆได้….ขอเพียง อย่าเข้าใจว่า เป็นการดูแคลน ขุ่นเคือง ลุกลามใหญ่โตไปเชียว บ้านเมืองซับซ้อน ผู้คนต้องสมานฉันท์ และแลกเปลี่ยนมิตรภาพที่ดีต่อกัน…โอเคไหม…..
 
ยุคนี้ ความเจริญอาจไม่รวมศูนย์ในเมืองหลวง-กรุงเทพมหานคร เพียงเมืองเดียว อีกต่อไป แต่เป็นการกระจายตัวออกไปทุกทิศทุกทาง เมืองไหนพร้อมก่อน โตก่อน ยิ่งมีโอกาสมาก ยิ่งพบเจอเร็ว และเห็นผลก่อน 
 
พัฒนาคน พัฒนาเมือง เมื่อผู้คนมีโอกาสพบเจอกัน มิตรภาพ การค้า การลงทุน และทุกมิติก็ย่อมก่อตัวง่ายขึ้น
 
ผู้บริหารของ บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น  จำกัด(มหาชน) หรือ AAV ของชาวหุ้น หรือ แอร์เอเชีย ของผู้โดยสาร   มีวิสัยทัศน์และนโยบายในการทำธุรกิจ ที่จะเชื่อมหัวเมือง เข้าด้วยกัน ล้อตามนโยบายของรัฐบาลในการกระจายการเติบโตไปสู่หัวเมืองต่างๆ ดังนั้น จึงมีเที่ยวบิน บินระหว่างเมือง ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ที่ไม่จำเป็น ต้องบินจากเมืองหลวง ถึงเมืองหลวง เท่านั้น แต่เป็นเมืองที่มีลู่ทาง ทางการค้า การลงทุน 
 
เที่ยวบิน ปฐมฤกษ์ เส้นทาง ขอนแก่น-อู่ตะเภา จึงเกิดขึ้น เมื่อ ศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา เป็นเส้นทาง เชื่อมอีสาน สู่ตะวันออก  มีเรื่องเล่าสนุก ตามชื่อตอนว่า “จากปลาร้า ถึง ปลาทะเล” นั่นแหละ…. ไม่อยากเก็บไว้เพียงคณะเดียว ขอนำมาขยายความ เล่าสู่กันฟัง…นะ…นะ..
  
การร่วมเส้นทาง เที่ยวบินเที่ยวแรก ก็ว่าตื่นเต้นแล้ว จุดต่างๆที่ไปศึกษาดูงาน เยี่ยมชม ก็ตื่นเต้น ไม่แพ้กัน….
 
จุดที่หนึ่ง : ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง-พัทยา) : ก่อสร้าง เมื่อปี 2504 หรือ 57 ปี ก่อน โดยประเทศสหรัฐอเมริกา  ในยุคสงครามเวียดนาม เพื่อใช้ในภารกิจลำเลียง อาวุธยุทโธปกรณ์ ลานบินจึงมีความแข็งแรง มีสมรรถณะ รองรับฝูงบินรบได้ ที่สามารถใช้งานกับ เครื่องบินขนาดใหญ่ได้ อาทิ Boeing 747 หรือ A380 ได้แบบสบายๆ 
 
เมื่อเศรษฐกิจไทยขยายตัว จึงมีการพัฒนาสนามบินแห่งนี้ เป็นสนามบินแห่งที่สาม รองรับเชิงพาณิชย์ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ใช้เชิงการทหาร ปัจจุบัน มีแผนพัฒนาขยายตัวเพื่อรองรับผู้โดยสาร จาก 5 ล้านคนต่อปี เป็น 15 และ 60 ล้านคนต่อปี ในปี 2566
  
แอบถามว่า ทำไมชื่อยาวจัง… แค่เรียกว่า “อู่ตะเภา” ได้ไหม…อ๋อ… คือเป็นพื้นที่ดูแลร่วมกัน ของทั้ง ระยองและพัทยา  จึงขอมีชื่อร่วมด้วยได้ไหม..เมื่อไม่มีใครขัดข้อง ชื่อจึงเป็นอย่างที่เราเห็น….ฮา….
  
ภายใน บริเวณเดียวกัน มีการบรรยาย นครแห่งอนาคต  เรื่อง “โอกาสทางการค้า การลงทุน”  ใน EEC  : Eastern Economic Corridor  หรือ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ ใน 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ภาคต่อ ในรอบ 30 ปี ของประเทศไทย  จาก Eastern Seaboard  ด้วยเงินลงทุน ราว 1.66 ล้านล้านบาท เจ้าภาพผู้ดูแล ซุปเปอร์เมกกะโปรเจคนี้ คือ  คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก งานนี้ อีก 5 ปี ( ปี 2566) ได้เห็นกันในช่วงชีวิตพวกเรานี่แหละ  ไม่นานเกินรอ…. 
  
จุดที่สอง : เยี่ยมชม เรือรบหลวง “จักรีนฤเบศร”  เป็นชื่อที่ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ทรงพระราชทาน  มีความหมายว่า “ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี”  ต่อขึ้นที่ประเทศสเปน เข้าประจำการเมื่อปี 2540 เป็นเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย สูง 11 ชั้น ยาว 182 เมตร กว้าง 30.5 เมตร เรือเอกพร ฉะวงษ์ ตำแหน่งนายทหารยามพรรคนาวิน  พาเดินชมแบบไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย  ท่านประจำการบนเรือลำนี้ ตั้งแต่รับมอบจากประเทศสเปน จึงรักและผูกพัน  เรือรบลำนี้ด้วยจิตวิญญาณของ “ลูกประดู่” แห่งราชนาวีไทยในทุกตารางนิ้ว
  
ความใหญ่โต ของเรือรบหลวงลำนี้ จึงมีกำลังพล ยามเมื่อจอดเทียบท่า ราว 400 นาย และเมื่อต้องออกปฏิบัติภารกิจในน่านน้ำทะเลไทย ต้องใช้กำลังพล กว่า 700 นาย
  
“เลี้ยวฉกาจ”  เป็นศัพท์ใหม่ของชาวนาวี อีกคำ ที่เรียนรู้จากวิทยากร คือ การเลี้ยวของเรือ ตั้งแต่ 20-30 องศา เป็นต้นไป หากจะเกิดการเลี้ยวเช่นนี้ จะต้องมีการประกาศให้ลูกเรือทุกนาย หาที่เกาะยึดให้มั่น ไม่งั้นคงหัวคะมำ ระเน ระนาด หมดท่ากันพอดี
  
นครขอนแก่น ไม่มีพื้นที่ติดทะเล เราจึงรู้ว่า การรักษาอธิปไตย และการกู้ภัยทางทะเล เป็นเรื่องที่อยู่ไม่ไกลตัวเลย 
  
จุดที่สาม : เยี่ยมชม ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล  กองทัพเรือ สัตหีบ ชลบุรี   ภาพแห่งความเศร้าใจ เมื่อเจอ “น้องเต่า” กินถุงพลาสติกเข้าไปเต็มท้อง หรือติดอวน ตายอนาถ สะเทือนใจจัง พวกเขาเป็นหนึ่งในสมดุลแห่งระบบนิเวศน์ทางทะเล
  
ความเก่าแก่ของเผ่าพันธุ์ กว่า 130 ล้านปี ของพงศ์พันธุ์ “น้องเต่า” ซึ่งใกล้เคียงกับ “ไดโนเสาร์” ที่บ้านเรา ตื่นตาตื่นใจ เมื่อเจอตัวเป็นๆ ว่ายน้ำให้เห็นๆ 
  
เต่าทะเล ที่พบในทะเลไทย มี 4 สายพันธุ์ คือ  เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า และเต่ามะเฟือง  พวกเขามีฤดูวางไข่ ในช่วงเดือน พฤกษาคม-สิงหาคม ของทุกปี กองทัพเรือประกาศ ให้ 3 เกาะ เป็นพื้นที่คุ้มครอง-หมายถึง ห้ามมนุษย์ ไปบุกรุก  เพื่อให้พวกเขามีโอกาสสืบเผ่าพันธุ์ คือ เกาะคราม เกาะจาน และเกาะอีรัง 
  
เต่าเพศเมีย จะผสมพันธุ์ รับน้ำเชื้อมาจากเต่าเพศผู้ราว 2-3 ตัว จากนั้น นางจะคลานขึ้นฝั่งเพื่อวางไข่ คราวละ 80-150 ฟอง  เสร็จกิจแล้ว นางจะคลาน ลงทะเลไป ปล่อยให้ธรรมชาติเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของลูกๆ เพียงลำพัง
  
กองทัพเรือ เริ่มมีโครงการอนุรักษ์เต่าทะเล ตั้งแต่ปี 2493  มีการตั้งศูนย์อนุรักษ์ฯ แห่งนี้ นำไข่เต่ามาเพาะฟัก อนุบาล จนถึงวัย ราว 3 เดือน ก่อนปล่อยลูกเต่ากลับสู่ท้องทะเลตามธรรมชาติ และโดยสัญชาติญาณ  พวกนางจะกลับไปวางไข่ ในจุดที่พวกนางเกิด ดังนั้น  เกาะทั้ง 3 จะเป็นบ้านที่ปลอดภัย ของ “น้องเต่า” ที่พี่ทหารเรือ ช่วยปกป้องดูแล…ชื่นใจอ่ะ…คิดถึงเสื้อคอปกทหารเรือ สมัยเด็กๆ ขึ้นมาติดหมัด….
  
การศึกษาดูงานของ ทั้งคณะ คราวนี้  นับเป็นสมดุลทางความคิด ที่มองเห็นอนาคตของการพัฒนาสู่อนาคต และการยังกลับมาดูแลสิ่งแวดล้อม ให้เป็นสมดุลแห่งธรรมชาติ ให้โลกนี้ น่าอยู่ ยาวนาน…..
  
ขอขอบคุณ “แอร์เอเชีย” ที่เอื้อเฟื้อการเดินทาง และจัดอาหารเช้า ชุดพิเศษ กะเพราไก่-ข้าวสวยร้อนๆ /ข้าวไก่กระเทียม-ไข่ดาว มาเสริฟเป็นกรณีพิเศษ ทำเอาผู้โดยสาร(บางคน) เหว๋อๆ เพราะผิดไปจากภาวะปกติของสายการบินราคาประหยัด  พอมาหรูๆ จึงตื่นเต้น อ่ะ… ฮา…(อีก)…
  
เส้นทางบิน ขอนแก่น-อู่ตะเภา จึงเป็นเส้นทางเชื่อมภาค ระหว่าง อีสาน ถึง ตะวันออก เชื่อว่า จะเกิดมิติการค้า การลงทุน และการเชื่อมวัฒนธรรม ระหว่างกัน ระหัสร้อน  “จาก ปลาร้า ถึง ปลาทะเล”  จึงไม่ไกลเกินเอื้อม….
 
รถดับเพลิง ทั้งสี่คัน ฉีดน้ำ ฟูฝอย ประหนึ่งปะน้ำมนต์ ยามนั้นเกิดสี รถดับเพลิง ทั้งสี่คัน ฉีดน้ำ ฟูฝอย ประหนึ่งปะน้ำมนต์ ยามนั้นเกิดสี “รุ้งกินน้ำ” นับเป็น “มงคลกาล”
 
ผู้โดยสารจากอู่ตะเภาคนแรก ของเส้นทางบินปฐมฤกษ์ อู่ตะเภา-ขอนแก่น ที่ก้าวลงบันได ทักทายกับเมืองดอกคูน  เมื่อเวลา 08.17 น. ของวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 คือ คุณยายวัย 77ผู้โดยสารจากอู่ตะเภาคนแรก ของเส้นทางบินปฐมฤกษ์ อู่ตะเภา-ขอนแก่น ที่ก้าวลงบันได ทักทายกับเมืองดอกคูน  เมื่อเวลา 08.17 น. ของวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 คือ คุณยายวัย 77
 
ราวปี 2566 หรืออีกราว 5 ปี ข้างหน้า พบกับ นครแห่งอนาคต ใน EEC ราวปี 2566 หรืออีกราว 5 ปี ข้างหน้า พบกับ นครแห่งอนาคต ใน EEC 
 
ขอขอบคุณ พลเรือโท ลือชัย ศรีเอี่ยมกูล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา(พัทยา-ระยอง) ที่จัดเวลามาบรรยายพิเศษ ให้กับคณะ ตลอดรายการขอขอบคุณ พลเรือโท ลือชัย ศรีเอี่ยมกูล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา(พัทยา-ระยอง) ที่จัดเวลามาบรรยายพิเศษ ให้กับคณะ ตลอดรายการ
 
กลุ่มจังหวัดท่องเที่ยว ทั้ง 4  กลุ่มจังหวัดท่องเที่ยว ทั้ง 4  “ร้อยแก่นสารสินธุ์”  ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคม และกาฬสินธุ์  น่าจะคึกคัก 
 
เรือรบหลวงจักรีนฤเบศร มีของที่ระลึก กุ๊กกิ๊ก ให้ซื้อกลับบ้านเรือรบหลวงจักรีนฤเบศร มีของที่ระลึก กุ๊กกิ๊ก ให้ซื้อกลับบ้าน
 
เรือรบหลวงจักรีนฤเบศร
เรือรบหลวงจักรีนฤเบศร
 
ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง-พัทยา)  กับอนาคตของการรองรับผู้โดยสาร 60 ล้านคนท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง-พัทยา)  กับอนาคตของการรองรับผู้โดยสาร 60 ล้านคน
 
เต่าทะเล ทั้ง 4 พันธุ์ ได้รับการคุ้มครอง โอกาสรอด มีเพียง 1-2 ตัว จาก 1,000 ตัว  เต่าทะเล ทั้ง 4 พันธุ์ ได้รับการคุ้มครอง โอกาสรอด มีเพียง 1-2 ตัว จาก 1,000 ตัว  
 







หวยเด็ดงวดนี้
  • ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
    16 เม.ย. 2567
  • รางวัลที่ 1 943598
  • รางวัลเลขหน้า 3 ตัว 729 727
  • รางวัลเลขท้าย 3 ตัว 154 200
  • รางวัลเลขท้าย 2 ตัว 79
เรื่องอื่นๆในหมวด

เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS